แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - siritidaphon

หน้า: [1] 2 3 ... 23
1
จัดฟันบางนา: วิธีป้องกัน “โรคเหงือก” ภัยร้ายก่อเกิด “โรคหัวใจ”

เชื่อว่าหลายต่อหลายคนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า สุขภาพช่องปากและฟัน ถือว่าสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่ก็มีหลายท่านที่ยังไม่ทราบว่าการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากไม่ดีนั้น อาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆต่อสุขภาพร่างกายด้วยเช่นกัน

โดยหนึ่งในโรคร้ายที่ได้รับการการศึกษาว่ามีความเชื่อมโยงกันนั่นก็คือ โรคเหงือก กับ โรคหัวใจ

ซึ่งจากการศึกษานั้นได้พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง และไม่ทำการรักษาให้หายขาด ละเลยปล่อยทิ้งไว้ มีโอกาสเสี่ยงเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายกว่าคนปกติ

ในวันนี้อยากจะขอเป็นส่วนหนึ่งในการให้คุณผู้อ่านได้ทราบถึงรายละเอียดว่าเพราะเหตุใดสุขภาพช่องปากที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างมาก และเพราะอะไรโรคเหงือกจึงส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ และแนวทางการป้องกันเบื้องต้น ดังต่อไปนี้


โรคเหงือกเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างไร ?

จากการศึกษามากมายเกี่ยวกับทันตกรรมศาสตร์ ได้ชี้ถึงประเด็น โรคเหงือกเชื่อมโยงโรคหัวใจ ไว้หลายๆทฤษฎี ซึ่งในทางด้านสุขภาพร่างกายแล้ว การป้องกันหรือบรรเทาโรคหัวใจทำได้โดยการ งดอาหารมัน งดอาหารเค็ม การออกกำลังกาย ตรวจเช็คความดันเป็นประจำ และข้อสุดท้ายคือดุแลสุขภาพช่องปากให้ดี ซึ่งหลายคนเกิดความสงสัยว่า โรคหัวใจเกี่ยวอะไรกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

โดยตามทฤษฎีทางการแพทย์แล้วได้ระบุว่า แบคทีเรียจากโรคเหงือกสามารถที่จะเข้าไปในกระแสเลือด และสามารถไปจับตัวเกาะเป็นคราบที่หลอดเลือด ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ยังไม่หมดเท่านั้น ผู้ป่วยเหงือกอักเสบเรื้อรัง อาจจะทำให้เกิดคราบพลัดที่หลอดเลือดหัวใจ และใหญ่ขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาส่งผลให้สามารถไปอุดหลอดเลือดหัวใจได้ และที่น่ากลัวเข้าไปอีกคือ เชื้อโรคต่าง ๆที่เหงือกสามารถเข้าสู่กระแสเลือดสิ่งผลให้ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้อีกด้วย

โรคในช่องปากที่อาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้ !

– โรคเหงือกอักเสบ

– โรคปริทันต์

– ฟันผุ

– ฟันคุดที่ส่งผลให้เหงือกอักเสบ


แนวทางวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือกเบื้องต้น !

– อย่างแรกเลยที่ต้องบอกกันทุกครั้งไปคือ การแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า (ตื่นนอน) – กลางคืน (ก่อนนอน) เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียที่เกาะเคลือบฟัน รวมถึงเศษอาหารที่อาจจะติดอยู่ตามซอกฟันต่าง ๆ เพื่อลดการเกิดและเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก และควรที่จะแปรงลิ้นทุกครั้งด้วย เพราะลิ้นเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีแบคทีเรียเกาะแน่น

– ควรใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังจากที่ทำการแปรงฟันเสร็จ เนื่องจากว่าเศษอาหารต่าง ๆ บางทีแปรงสีฟันไม่สามารถเข้าถึงหรือเอาออกได้ การใช้ไหมขัดฟันช่วยจึงถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญมาก ๆ แต่มีคนจำนวนมากมองข้าม เพราะคิดว่าแค่แปรงฟันก็น่าจะพอแล้ว อยากแนะนำว่าควรใช้ไหมขัดฟันควบคู่อย่างน้อย ๆวันละครั้งก่อนนอนก็ยังดี

– ใช้น้ำยาบ้วนปากสำหรับบางคน จ้องขอย้ำว่าบางคนที่ทันตแพทย์แนะนำให้ใช้ และใช้ให้ถูกกับลักษณะช่องปาก และไม่ควรใช้เยอะเกินความจำเป็น

– ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ถือว่าหลายคนมองข้าม คิดว่ายาสีฟันก็เหมือนๆกันหมด แต่จริง ๆ และยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก็ถือได้ว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ฟลูออไรด์จะมีส่วนในการช่วยให้ฟันและเหงือกแข็งแรง

– สิ่งสำคัญอีกหนึ่งสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามนั่นก็คือ การพบทันตแพทย์เป็นประจำปีละ 2 ครั้ง เพราะ การเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำจะทำให้คุณทราบทุกระยะว่าช่องปากของคุณกำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่ และควรได้รับการแก้ไขอย่างไร ก่อนที่ความละเลยจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา

– พฤติกรรมการรับประทานอาหารก็สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณ ขงกินประเภทที่มีความหวาน และแป้ง แต่ไม่ใช่ว่าให้เลิกรับประทาน แต่ให้รับประทานเท่าที่จำเป็นตามที่สุขภาพร่างกายต้องการ

เพียงทำตามขั้นตอนต่าง ๆที่กล่าวมาเหล่านี้ก็จะทำให้คุณผู้อ่านสามารถห่างไกลจากโรคเหงือก และโรคต่าง ๆเกี่ยวกับช่องปากได้แล้วง่ายๆ พยายามดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีและสะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆตามมาในอนาคต

2
ข้อเสียของผ้ากันไฟ

แม้ว่าผ้ากันไฟจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อเสียบางประการที่ควรพิจารณา ดังนี้ค่ะ

1. ราคา
ผ้ากันไฟบางชนิด เช่น ผ้าเคฟลาร์ หรือผ้าซิลิกา มีราคาสูง ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ใช้ที่มีงบประมาณจำกัด
ผ้ากันไฟที่มีคุณภาพดีและทนทาน มักมีราคาสูงกว่าผ้ากันไฟทั่วไป

2. น้ำหนักและความหนา
ผ้ากันไฟบางชนิดมีน้ำหนักมากและหนา ทำให้ไม่สะดวกในการสวมใส่หรือใช้งานในบางสถานการณ์
ผ้ากันไฟที่หนาเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกและอันตรายแก่ผู้ใช้งานเมื่อต้องนำผ้ากันไฟขึ้นไปทำงานบนที่สูง

3. การระบายอากาศ
ผ้ากันไฟบางชนิดอาจมีการระบายอากาศที่ไม่ดี ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกร้อนหรือไม่สบายเมื่อสวมใส่เป็นเวลานาน
การระบายอากาศที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดการสะสมของเหงื่อและความชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง

4. การเสื่อมสภาพ
หากถูกใช้งานไม่ถูกวิธี เช่น ถูกใช้งานในอุณหภูมิที่สูงเกินไป หรือติดต่อกับสารเคมีที่รุนแรง อาจทำให้คุณสมบัติการกันไฟลดลงหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่คาด 
ผ้ากันไฟบางชนิดอาจมีอายุการใช้งานจำกัด และต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน

5. การดูแลรักษา
ผ้ากันไฟบางชนิดต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ เช่น การซักแห้ง หรือการเก็บรักษาในที่แห้งและเย็น
การดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ผ้ากันไฟเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

6. ข้อจำกัดในการใช้งาน
ผ้ากันไฟไม่ได้ป้องกันไฟได้ทุกชนิด ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ผ้ากันไฟเป็นเพียงอุปกรณ์ป้องกันเบื้องต้น ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงอื่นๆ เตรียมพร้อมไว้ด้วย
หากเกิดเหตุไฟไหม้ขนาดใหญ่ ควรรีบอพยพออกจากพื้นที่ และแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทันที

7. ฝุ่นละออง
ผ้ากันไฟบางชนิดมีฝุ่นอยู่ที่ใยผ้ามาก เมื่อนำมาใช้งานจะทำให้ผู้ใช้สูดดมละอองฝุ่นเหล่านี้เข้าไป เมื่อเกิดการสะสมในปอดและหลอดลมมากๆ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือโรคร้ายต่างๆตามมา 

8. การระคายเคือง
ผ้ากันไฟที่ทำจากใยแก้วหรือซิลิกาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรือระบบทางเดินหายใจได้

9. ความทนทาน
ผ้ากันไฟบางประเภทที่ทนอุณหภูมิสูงได้ถึง 1,000 C แต่มีความหนาของผ้าน้อยกว่า 1 mm ก็อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นเกินไป เนื่องจากผ้าจะทะลุเร็ว ทำให้ต้องหาผ้ากันไฟผืนใหม่มาเปลี่ยนบ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน 

10. การนำมาตัดเย็บ
ผ้ากันไฟนำมาตัดเย็บเป็นชุดผจญเพลิงไม่ได้เนื่องจากเป็นใยแก้วหรือซิลิก้าทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผู้สวมใส่ได้

ดังนั้น การเลือกใช้ผ้ากันไฟควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและงบประมาณของคุณค่ะ

3
บอร์ดโพสต์ฟรี ประกาศฟรี ทั่วไป / Doctor At Home: ไมเกรน (Migraine)
« เมื่อ: วันที่ 31 มีนาคม 2025, 20:34:48 น. »
Doctor At Home: ไมเกรน (Migraine)

ไมเกรน (โรคปวดหัวข้างเดียว ลมตะกัง ก็เรียก) พบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของประชากรทั่วไป พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3.5 เท่า

โรคนี้มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นแรมปี เริ่มเป็นครั้งแรกตอนย่างเข้าวัยรุ่น หรือระยะหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงมักเป็นโรคนี้ตอนเริ่มมีประจำเดือน บางรายเริ่มเป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งมักมีอาการปวดท้อง เมารถเมาเรือด้วย มีน้อยรายที่จะมีอาการเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ผู้หญิงที่เคยเป็นไมเกรนมาก่อนเมื่อถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน (40-50 ปี) อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้น บางรายอาจทุเลาหรือหายไปเองเมื่ออายุมากกว่า 50-60 ปีขึ้นไป แต่บางรายอาจเป็นตลอดชีวิต

ไมเกรนจัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่สร้างความรำคาญน่าทรมาน และทำให้เสียการเสียงาน

โรคนี้เกิดได้กับคนทุกระดับ ไม่เกี่ยวกับฐานะทางสังคมหรือระดับสติปัญญา แต่ผู้ป่วยที่มีฐานะดีหรือมีการศึกษาดีมักจะปรึกษาแพทย์บ่อยกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่เป็นประจำ มักเป็นคนประเภทเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก

สาเหตุ

โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยไมเกรน มีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย) และมักมีสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบในแต่ละครั้ง

ส่วนกลไกการเกิดอาการของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมอง ทั้งในส่วนเปลือกสมอง (cortex) และก้านสมอง (brain stem) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin พบว่ามีปริมาณลดลงขณะที่มีอาการกำเริบ) โดพามีน (dopamine) และสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเส้นใยประสาทสมองเส้นที่ 5 (trigeminal nerve fiber ที่เลี้ยงบริเวณใบหน้าและศีรษะ) รวมทั้งการอักเสบร่วมกับการหดและขยายตัวของหลอดเลือดแดงทั้งในและนอกกะโหลกศีรษะ ทำให้เปลือกสมอง (cortex) มีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะและอาการร่วมต่าง ๆ ขึ้นมา

สาเหตุกระตุ้น

ผู้ป่วยมักบอกได้ว่า มีสาเหตุต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งแต่ละคนอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป แต่มักจะมีได้หลาย ๆ อย่าง ได้แก่

1. สิ่งกระตุ้นทางตา อาทิ

    มีแสงสว่างจ้าเข้าตา เช่น ออกกลางแดดจ้า ๆ แสงจ้า แสงไฟกะพริบ แสงสีระยิบระยับในโรงมหรสพหรือสถานเริงรมย์ เป็นต้น
    การใช้สายตาเพ่งดูอะไรนาน ๆ เช่น ดูภาพยนตร์ หนังสือ จอคอมพิวเตอร์ หรือกล้องจุลทรรศน์ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น

2. กระตุ้นทางหู อาทิ

    การอยู่ในที่ที่มีเสียงดังจอแจ เช่น ตลาดนัด หรือเสียงอึกทึก (เช่น เสียงกลอง เสียงระฆัง)

3. สิ่งกระตุ้นทางจมูก อาทิ

    การสูดดมกลิ่นฉุน ๆ เช่น กลิ่นน้ำมันรถ กลิ่นสีหรือทินเนอร์ กลิ่นสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอมหรือดอกไม้ เป็นต้น

4. สิ่งกระตุ้นทางลิ้น (อาหารและยา) อาทิ

    การดื่มกาแฟมาก ๆ ก็อาจกระตุ้นให้ปวดได้ (แต่บางคนดื่มกาแฟแล้วอาการทุเลา หรือขาดกาแฟกลับทำให้ปวดไมเกรน)
    เหล้า เบียร์ เหล้าองุ่นแดง (red wine) ถั่วต่าง ๆ กล้วย นมเปรี้ยว เนยแข็ง ช็อกโกแลต ตับไก่ ไส้กรอก อาหารทะเล อาหารทอดน้ำมัน อาหารหมักดองหรือรมควัน ผงชูรส น้ำตาลเทียม (aspartame) สารกันบูด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (เช่น ส้ม มะนาว) หอม กระเทียม ล้วนกระตุ้นทำให้ปวดได้
    ยานอนหลับ ยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน) ยาลดความดัน (เช่น ไฮดราลาซีน รีเซอร์พีน) ยาขับปัสสาวะ

5. สิ่งกระตุ้นทางกาย (กายภาพ) อาทิ

    การอยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่น อากาศร้อนหรือหนาวจัด ห้องที่อบอ้าว ห้องปรับอากาศเย็นจัด อากาศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
    การอดนอน (นอนไม่พอ) หรือนอนมากเกินไป การนอนตื่นสาย (เช่น ในวันหยุดสุดสัปดาห์)
    การอดข้าว กินข้าวผิดเวลา หรือกินอิ่มจัด เชื่อว่าเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งกระตุ้นให้ปวดศีรษะได้ บางครั้งพบว่าผู้ป่วยไมเกรนเมื่อเป็นโรคเบาหวาน (มีน้ำตาลในเลือดสูง) อาการปวดจะหายไป
    การนั่งรถ นั่งเรือ หรือนั่งเครื่องบิน
    การเปลี่ยนแปลงของระดับความสูงหรือความดันบรรยากาศ
    อาการเจ็บปวดตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
    การเป็นไข้ เช่น ตัวร้อนจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
    การออกกำลังกายจนเหนื่อยเกินไป รวมทั้งการร่วมเพศ
    ร่างกายเหนื่อยล้า
    การถูกกระแทกแรง ๆ ที่ศีรษะ (เช่น การใช้ศีรษะโหม่งฟุตบอล) ก็อาจทำให้ปวดศีรษะทันที
    อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ สำหรับผู้ป่วยหญิงมีผลต่อการเกิดอาการไมเกรนอย่างมาก เช่น บางรายมีอาการปวดเฉพาะเวลาใกล้จะมีหรือขณะมีประจำเดือน บางรายในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้น เมื่อเลยระยะ 3 เดือนไปแล้ว อาการมักจะหายไปจนกระทั่งหลังคลอด (ในระยะ 6 เดือนหลังของการตั้งครรภ์มักมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนสูง) บางรายกินยาเม็ดคุมกำเนิด (มีฮอร์โมนเอสโทรเจน) ทำให้ปวดบ่อยขึ้น พอหยุดกินยาก็ดีขึ้น หรือฉีดยาคุมกำเนิดอาการมักจะทุเลา

6. สิ่งกระตุ้นทางใจ (อารมณ์) อาทิ

ความเครียดทางอารมณ์ คิดมาก อารมณ์ขุ่นมัว ตื่นเต้น ตกใจ
สาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน

อาการ

มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดแบบตุบ ๆ (เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ) ที่บริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดสลับข้างในแต่ละครั้ง ส่วนน้อยจะปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีอาการปวดที่รอบ ๆ กระบอกตาร่วมด้วย แต่ละครั้งมักจะปวดนาน 4-72 ชั่วโมง และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือสัมผัสถูกแสง เสียง หรือกลิ่น มักปวดรุนแรงปานกลางถึงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย (หลังอาเจียนอาการปวดจะค่อย ๆ ทุเลาไปเอง) ผู้ป่วยมักมีอาการกลัว (ไม่ชอบ) แสงหรือเสียงร่วมด้วย ชอบอยู่ในห้องที่มืดและเงียบ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว คัดจมูก ท้องเดิน ปัสสาวะออกมาก ซีด เหงื่อออก บวมที่หนังศีรษะหรือใบหน้า เจ็บหนังศีรษะ มีเส้นพองที่ขมับ ขาดสมาธิ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกศีรษะโหวง ๆ รู้สึกจะเป็นลม แขนขาเย็น เป็นต้น

บางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุน โดยอาจมีหรือไม่มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยก็ได้*

บางรายก่อนมีอาการปวดศีรษะ อาจมีสัญญาณบอกเหตุ (aura)** ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา เช่น เห็นแสงวอบแวบหรือระยิบระยับ เห็นเป็นเส้นหยัก ภาพเบี้ยว ภาพเล็กหรือใหญ่เกินจริง หรือเห็นดวงมืดในลานสายตา ซึ่งจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลา 5-20 นาที และมักจะเป็นอยู่นานไม่เกิน 60 นาที

ส่วนน้อยอาจมีสัญญาณบอกเหตุในลักษณะอื่น ๆ เช่น มีความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เหมือนถูกเข็ม หรือเหมือนมีตัวอะไรไต่) ที่มือและแขน รอบปากและจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ชาที่ใบหน้าและแขนขา มีความรู้สึกไวต่อการสัมผัส พูดไม่ได้หรือพูดลำบาก บ้านหมุน มีเสียงหลอนหรือกลิ่นหลอน เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง*** อาการเหล่านี้มักเป็นเพียงชั่วขณะแล้วทุเลาไปได้เอง

อาการปวดศีรษะ มักเกิดขึ้นภายใน 60 นาที (บางครั้งหลายชั่วโมง) หลังสัญญาณบอกเหตุทุเลาลงแล้ว

บางรายสัญญาณบอกเหตุอาจเป็นต่อเนื่อง แม้ภายหลังมีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้นแล้ว

บางรายอาจมีสัญญาณบอกเหตุโดยไม่มีอาการปวดตุบ ๆ แบบไมเกรนตามมา หรือมีอาการปวดศีรษะในลักษณะแตกต่างจากไมเกรน (เช่น ปวดมึน ปวดตื้อ) ตามมาก็ได้

นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติล่วงหน้าหรือตามหลังระยะปวดไมเกรน

อาการผิดปกติล่วงหน้า (prodome) อาจเกิดก่อนปวดศีรษะเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ เช่น อารมณ์แปรปรวน (หงุดหงิด ซึมเศร้า หรือครึ้มใจ) อ่อนเพลีย หาวบ่อย ง่วงนอนมาก รู้สึกอยากอาหารบางชนิด (เช่น ช็อกโกแลต ของหวาน) กล้ามเนื้อตึง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คอ) ท้องผูกหรือท้องเดิน ปัสสาวะออกมาก

ส่วนอาการผิดปกติที่อาจพบภายหลังหายปวดศีรษะแล้ว (postdome) เช่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด เฉยเมย ขาดสมาธิ เจ็บหนังศีรษะ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกศีรษะโหวง ๆ กลัวแสง เบื่ออาหาร เป็นต้น

ในเด็กมักมีอาการคล้ายดังกล่าวข้างต้น แต่มักจะปวดขมับพร้อมกัน 2 ข้าง และปวดนานน้อยกว่าผู้ใหญ่ (นานประมาณ 1-48 ชั่วโมง) ไม่ค่อยมีสัญญาณบอกเหตุทางตา (อาการผิดปกติทางสายตา) แต่มักมีอาการผิดปกติล่วงหน้า เช่น หาวบ่อย ง่วงนานมากหรือเฉยเมย มีความรู้สึกอยากอาหารบางชนิด (เช่น ช็อกโกแลต ของหวาน นมเปรี้ยว กล้วย)

เด็กบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กลัวแสง กลัวเสียง โดยไม่มีอาการปวดศีรษะก็ได้ (เมื่อโตขึ้นก็จะมีอาการปวดศีรษะไมเกรน)

 *ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ หรือบ้านหมุนเป็นสำคัญ ซึ่งมักเป็นอยู่นานเป็น 5 นาทีจนถึง 72 ชั่วโมง โดยอาจมีอาการก่อนหรือหลัง หรือเป็นพร้อมกันกับอาการปวดศีรษะ หรืออาจไม่มีอาการปวดศีรษะเลยก็ได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกโคลงเคลง เสียการทรงตัว สับสน หูตึงหรือได้ยินไม่ชัด หูอื้อหรือมีเสียงในหู หรือกลัวแสง กลัวเสียง (แสงเสียงจะกระตุ้นให้อาการกำเริบหนัก) ร่วมด้วย มักเกิดขึ้นเมื่อหันศีรษะเร็ว นั่งยานพาหนะหรือเครื่องเล่น อยู่ในฝูงชนแออัด สับสนอลหม่าน หรือดูสิ่งที่เคลื่อนไหว (เช่น รถแล่น คนเดิน) หรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์ โทรทัศน์) และอาจมีสาเหตุกระตุ้นอื่น ๆ แบบที่กระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคไมเกรนในครอบครัว มีประวัติปวดศีรษะจากโรคไมเกรน หรือมีอาการเมารถเมาเรือบ่อย ๆ มาก่อน ไมเกรนชนิดนี้ เรียกว่า "ไมเกรนชนิดเวียนศีรษะ" ("vestibular migraine" "migraine- associated vertigo" "migrainous vertigo" หรือ "migraine-related vestibulopathy") สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับหูชั้นใน (ซึ่งทำหน้าที่ด้านการได้ยินและการทรงตัว) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า มักพบในคนอายุราว ๆ 40 ปี แต่ก็อาจพบในคนอายุน้อยก็ได้

การรักษา ให้ยาบรรเทาตามอาการ อาทิ ยาแก้ปวด (เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน) ยาแก้เวียนศีรษะ บ้านหมุน (เช่น ไดเมนไฮดริเนต) ในรายที่เป็นบ่อยหรือกระทบต่อการดำเนินชีวิต แพทย์ก็จะให้ยาป้องกันแบบที่ใช้กับโรคไมเกรน

**ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่ มักจะไม่มีสัญญาณบอกเหตุนำมาก่อน เรียกว่า ไมเกรนชนิดไม่มีสัญญาณบอกเหตุ (migraine without aura) เดิมเรียกว่า ไมเกรนชนิดสามัญ (common migraine) มีเพียงร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยไมเกรนที่จะมีสัญญาณบอกเหตุนำมาก่อน เรียกว่า ไมเกรนชนิดมีสัญญาณบอกเหตุ (migraine with aura) เดิมเรียกว่า ไมเกรนชนิดตรงต้นแบบ (classical migraine) ผู้ป่วยที่เคยมีสัญญาณบอกเหตุต่อไปอาจมีอาการปวดไมเกรนโดยไม่มีสัญญาณบอกเหตุก็ได้

***อาการแขนขาอ่อนแรงจะเป็นเพียงชั่วคราว และฟื้นหายเป็นปกติได้เอง เกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วขณะ ซึ่งพบในผู้ที่เป็นไมเกรนชนิดที่พบได้น้อย ได้แก่
- ไมเกรนชนิดแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก (hemiplegic migraine) พบในเด็กและคนอายุต่ำกว่า 20 ปี มักมีประวัติโรคไมเกรนชนิดนี้ในครอบครัว เมื่อมีอาการกำเริบ จะมีอาการแขนและขาซีกหนึ่งอ่อนแรง อาจสลับข้างในการกำเริบแต่ละครั้ง อาการอาจเป็นอยู่นานประมาณ 5-60 นาที บางรายอาจนานถึง 24 ชั่วโมง และอาจมีอาการชา ตาพร่า เดินเซ ชัก หรือหมดสติร่วมด้วย
- ไมเกรนชนิดก้านสมองขาดเลือด (basilar migraine) พบบ่อยในหญิงวัยรุ่น เกิดจากก้านสมอง (brain stem) ขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วขณะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดไมเกรน ร่วมกับอาการบ้านหมุน พูดลำบาก เห็นภาพซ้อน สับสน เป็นลม หมดสติ แขนขาอ่อนแรงทั้ง 4 ข้าง ซึ่งจะเป็นนานประมาณ 20-30 นาที บางรายอาจนานหลายวัน

ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่จะเป็น ๆ หาย ๆ เป็นช่วง ๆ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากอาจทำให้มีความวิตกกังวลหรือซึมเศร้า

บางรายอาจมีอาการปวดไมเกรนต่อเนื่อง (status migrainosus) คือปวดติดต่อกันนานเกิน 72 ชั่วโมง หรืออาจเป็นไมเกรนเรื้อรัง (chronic migraine) คือปวดมากกว่า 15 วัน/เดือน

โรคไมเกรนเรื้อรัง มักจะสัมพันธ์กับโรควิตกกังวล โรคแพนิก โรคอารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า มีภาวะเครียด หรือมีการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนมากเกินไป (มากกว่า 2-3 ครั้ง/สัปดาห์)

มีน้อยรายมากที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะขาดเลือดแทรกซ้อน ซึ่งมักพบในผู้หญิงที่เป็นไมเกรนชนิดมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) ที่มีประวัติสูบบุหรี่ และ/หรือกินยาเม็ดคุมกำเนิด

นอกจากนี้ ผู้ป่วยไมเกรนยังอาจมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วยมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นไมเกรน เช่น โรคลมชัก ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติจากกรรมพันธุ์ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคลำไส้แปรปรวน ความดันโลหิตสูง โรค

4
วัดเขาคีรีรมย์มีชื่อเสียงเชิญชวนใส่ชุดขาวหญิง เรียนรู้วิธีการฝึกสติความแจ่มใสของจิตใจ

วัดเขาคีรีรมย์เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาคีรีรมย์ในจังหวัดชลบุรี วัดนี้มีชื่อเสียงในเรื่องของทัศนียภาพที่สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเหมาะใส่ชุดขาว ชุดขาวชาย ชุดขาวหญิง ชุดขาวปฏิบัติธรรม มาเที่ยววัดเขาคีรีรามอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันเงียบสงบของจังหวัดชลบุรีเป็นอัญมณีที่ซ่อนเร้นสำหรับผู้ที่แสวงหาความสงบภายใน

วัดแห่งนี้รายล้อมไปด้วยต้นไม้เขียวขจีและทิวทัศน์ที่เงียบสงบ ให้บรรยากาศที่สงบและเงียบสงบเหมาะสำหรับการนั่งสมาธิ การทำสมาธิและฟังคำสอนของพุทธศาสนา

การพักผ่อนทางจิตวิญญาณ
วัดเขาคีรีรามขึ้นชื่อในเรื่องบรรยากาศแห่งจิตวิญญาณและความทุ่มเทในการสอนหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ผู้เยี่ยมชมสามารถฝึกสติและสมาธิในสภาพแวดล้อมอันเงียบสงบ ห่างไกลจากความวุ่นวายของชีวิตในเมือง ที่ตั้งของวัดบนเนินเขาทำให้สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของชนบทโดยรอบได้ สร้างบรรยากาศที่สมบูรณ์แบบสำหรับการไตร่ตรองส่วนตัว

โครงการปฏิบัติธรรม
วัดแห่งนี้จัดปฏิบัติธรรม เป็นประจำ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติธรรมแบบปฏิบัติธรรม คำสอนของพุทธศาสนา (การบรรยายธรรม) และการทำสมาธิเป็นกลุ่ม โปรแกรมเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ปฏิบัติธรรมได้พัฒนาสติ สมาธิ และความเข้าใจในธรรมชาติของชีวิต

ค่ายปฏิบัติธรรม
ค่ายปฏิบัติธรรมที่วัดเขาคีรีรามเน้นการทำสมาธิแบบวิปัสสนาซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมแบบดั้งเดิมของชาวพุทธที่มุ่งเน้นในการทำความเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริง ภายใต้การแนะนำของพระภิกษุผู้มีประสบการณ์ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการฝึกสติและความแจ่มใสของจิตใจ ค่ายปฏิบัติธรรมมีระยะเวลาแตกต่างกัน ตั้งแต่โปรแกรมสุดสัปดาห์ไปจนถึงระยะเวลาการเข้าพักที่ยาวนานขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการดื่มด่ำกับการปฏิบัติธรรมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

บรรยากาศเงียบสงบ
วัดแห่งนี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ รายล้อมไปด้วยป่าไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติ ผู้เยี่ยมชมสามารถเดินเล่นไปตามเส้นทางของวัด สำรวจทิวทัศน์บนยอดเขา หรือเพียงแค่ผ่อนคลายในบรรยากาศที่เงียบสงบ การเชื่อมต่อกับธรรมชาตินี้ช่วยเพิ่มประสบการณ์การทำสมาธิ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมรู้สึกมั่นคงและเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น

วิธีการเดินทาง
วัดเขาคีรีรามตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ห่างจากเมืองพัทยาซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทะเลอันโด่งดังเพียงระยะทางสั้นๆ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์หรือระบบขนส่งสาธารณะจากกรุงเทพฯ ได้ จึงถือเป็นจุดหมายปลายทางที่เหมาะสำหรับทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังมองหาสถานที่พักผ่อนทางจิตวิญญาณ

วางแผนการเยี่ยมชมของคุณ
หากคุณกำลังมองหาที่หลบเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวันและต้องการเชื่อมต่อกับตัวตนที่แท้จริงของคุณ วัดเขาคีรีรามคือสถานที่ที่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ในการทำสมาธิหรือเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่มีประสบการณ์ สภาพแวดล้อมอันเงียบสงบและโปรแกรมแนะนำของวัดจะมอบประสบการณ์ที่มีความหมายและเติมเต็มให้กับคุณ อย่าลืมแต่งกายสุภาพและเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด เนื่องจากเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางจิตวิญญาณ

การไปเยี่ยมชมวัดเขาคีรีรามไม่เพียงแต่เป็นโอกาสสำหรับการเติบโตทางจิตวิญญาณเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการสำรวจธรรมชาติอันสวยงามของจังหวัดชลบุรีอีกด้วย ใช้เวลาเพื่อเชื่อมต่อกับตัวเอง เรียนรู้คำสอนของศาสนาพุทธ และค้นหาความสงบในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเงียบสงบแห่งนี้

5
สินเชื่อเงินสด: สินเชื่อรถ ออโต้ แคช-ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB THAI)
ดอกเบี้ยต่อปี 8.87%

สินเชื่อรถ ออโต้ แคช-ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB THAI)
อนุมัติเร็ว รู้ผลภายใน 2 ชั่วโมง วงเงินสูงสุด 100% รับรถอายุสูงสุด 19 ปี อัตราดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้นเพียง 0.32% ต่อเดือน ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า

รายละเอียดสินเชื่อ
   สถาบันทางการเงิน        ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
   ชื่อสินเชื่อ                  สินเชื่อรถ ออโต้ แคช
   ประเภทสินเชื่อ            สินเชื่อรถแลกเงิน
   วัตถุประสงค์สินเชื่อ        สินเชื่ออเนกประสงค์
   ลักษณะหลักประกัน       สินเชื่อหลักทรัพย์ค้ำประกัน
   รายละเอียดหลักประกัน    อายุรถไม่เกิน 19 ปี
   ผู้มีสิทธิ์กู้                    ผู้มีรายได้ประจำทุกประเภท อาชีพอื่นๆ(ระบุ)

   คุณสมบัติผู้กู้
มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ถึง 65 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ขอสินเชื่อ
อายุงานปัจจุบัน 1 ปีขึ้นไป
มีรายได้ขั้นต่ำ ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท หรือ 2 เท่าของค่างวด
เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพที่มีรายได้ประจำ หรือประกอบอาชีพที่สามารถแสดงแหล่งที่มาของรายได้ และสามารถตรวจสอบได้
เอกสารเพื่อประกอบการสมัครสินเชื่อสำหรับนิติบุคคล

   วงเงินกู้
   ระยะเวลากู้          สูงสุดไม่เกิน 84 งวด
   วิธีการคิดดอกเบี้ย   อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate)

   อัตราดอกเบี้ย
ผู้กู้                   จำนวนเงินกู้   ดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมต่อปี
ผู้มีรายได้ประจำ   15,000 บาท   8.87 %

   รายละเอียดอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี สูงสุด 8.87%
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี สูงสุด 15.00%

   หมายเหตุอัตราดอกเบี้ย        อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอาจเปลี่ยนแปลงตามจำนวนเงินกู้ อาชีพและเงินเดือนของผู้กู้
   ดอกเบี้ยผิดนัด
ลูกค้าบุคคลธรรมดา คิดในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระนับตั้งแต่วันที่ผิดนัดชำระจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
ลูกค้านิติบุคคล คิดในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แจริงต่อปี (Effective Interest Rate) ที่ระบุไว้ในสัญญา บวกเพิ่มอีกไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี โดยคำนวณจากจำนวนเงินต้นของค่างวดเช่าซื้อที่ผิดนัดในแต่ละงวด

ค่าธรรมเนียม
   ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้
   ค่าธรรมเนียมเบิกถอน        โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
   ค่าการทวงหนี้                 โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
   ค่าอากรแสตมป์               โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ

   ค่าธรรมเนียมอื่นๆที่สำคัญ
ค่าจดทะเบียนกรรมสิทธิ์
ค่าตรวจสภาพรถ (รถเก่า)
ค่าอากรซื้อขายรถยนต์ (รถเก่า)
ค่าเบี้ยประกันภัย/พ.ร.บ.
ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ (ถ้ามี)

การชำระคืน
   ยอดชำระขั้นต่ำ               โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
   สิทธิชำระเกินค่างวด         โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
   สิทธิชำระคืนก่อนกำหนด      ไม่มี

6
ข้อมูลโรค: ไอกรน (Pertussis/Whooping cough)

นอกจากแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้การรักษาตามอาการ เช่น ลดไข้ แก้ไอ เป็นต้น ถ้าให้ยาแก้ไอเพื่อระงับอาการไอไม่ได้ผล ให้ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ (สำหรับเด็กอายุมากกว่ากว่า 1 ปี ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี)

ส่วนยาปฏิชีวนะ มักจะให้ในระยะที่เริ่มมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือในเด็กที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เริ่มป่วยเป็นโรคนี้ แต่ยังไม่เกิดอาการ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนลงได้ แต่ไม่ช่วยลดระยะของโรคให้สั้นลง ยาที่ใช้ เช่น อีริโทรไมซิน โคไตรม็อกซาโชล ไรแฟมพิซิน อะซิโทรไมชิน คลาริโทรไมซิน เป็นต้น

แต่ถ้ามีอาการแสดงเกิน 1-2 สัปดาห์ การให้ยาปฏิชีวนะมักไม่ได้ผล ยกเว้นในรายที่มีปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบแทรกซ้อน

ส่วนอาการเลือดออกที่ตาขาว ไม่ต้องทำอะไรจะค่อย ๆ จางหายไปได้เอง

2. ในรายที่มีปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือหูชั้นกลางอักเสบ ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน  โคอะม็อกซิคลาฟ, อีริโทรไมซิน, ร็อกซิโทรไมซิน เป็นต้น

3. ในทารกที่มีอาการชักเกร็ง ตัวเขียว หยุดหายใจ แพทย์จะทำการผายปอดโดยการเป่าปาก และใช้ลูกยางดูดเอาเสมหะออก และรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล

4. ถ้ามีอาการหอบหรือขาดน้ำรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล

5. ถ้าพบในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือน แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะปลอดภัย

6. ถ้าไอเรื้อรังร่วมกับน้ำหนักลด แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม อาจพบว่ามีวัณโรคกำเริบแทรกซ้อนได้

ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะมีอาการไอนานเป็นเดือน ๆ (บางรายอาจนานถึง 3 เดือน) ซึ่งจะค่อย ๆ ทุเลาหายไปเอง ส่วนน้อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี) อาจมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งบางรายแพทย์จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล

7
การจัดฟันเด็ก มีกี่แบบ

การจัดฟันในเด็ก เป็นการจัดฟันสำหรับเด็กที่มีอายุ 4-15 ปี ซึ่งการจัดฟันในเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถมาบุตรหลานของท่านเข้ารับการจัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย คือตั้งแต่มีฟันน้ำนมหรือระยะฟันผสม ซึ่งการจัดฟันในเด็กจะเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของลักษณะฟัน การขึ้นของฟันที่มีความผิดปกติ รวมไปถึงปัญหาการสบฟันที่มีความผิดปกติ โดยปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก หรือแม้กระทั่งส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้

เพราะถ้าหากเด็กมีปัญหาในเรื่องดังกล่าว อาจจะทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายเด็กได้ หรือเด็กบางคนอาจะส่งผลทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร จนทำให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ ดังนั้น การจัดฟันในเด็กจึงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เรียกว่า เป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหาฟันในเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยเทีเดียว หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในวัยเด็กนั้น พฤติกรรมของเด็กส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการดูดขวดนม พฤติกรรมการดูดนิ้ว

ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลทำให้เด็กเติบโตมามีการสบฟันที่ผิดปกติ รวมไปถึงอาจจะส่งผลต่อโครงสร้างของใบหน้าด้วย ดังนั้น เด็กที่มีปัญหาควรได้รับการแก้ไขด้วยการจัดฟันในเด็ก สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองท่านใดที่กำลังคิดจะนำบุตรหลานของท่านเข้ารับการจัดฟันในเด็ก ก็อาจจะสงสัยว่า การจัดฟันในเด็กนั้นมีกี่รูปแบบ และแต่ละแบบมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันอย่างไร และเราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า บุตรหลานของเราเหมาะสำหรับการจัดฟันในรูปแบบใด เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้ทางคลินิก เราจะมาพูดถึงการเข้ารับการจัดฟันในเด็กว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองที่สนใจพาบุตรหลานเข้ารับการจัดฟันในเด็ก เราต้องอธิบายก่อนว่า กาจัดฟันเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำบุตรหลานของท่านที่มี อายุต่ำว่า 10 ปี มาตรวจกับทันตแพทย์จัดฟันได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวัยรุ่น หรือไม่จำเป็นต้องรอให้ฟันน้ำนมหลุดก่อน แนะนำให้พาเด็กอายุ 7-10 ปี ไปตรวจกับทันตแพทย์จัดฟัน เพราะหากพบปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ เด็กวัยนี้ก็สามารถจัดฟันได้แล้ว ดังนั้น การที่พ่อแม่ผู้ปกครองพาเด็กเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจฟันตั้งแต่เล็ก

นอกจากเพื่อตรวจดูว่ามีฟันผุหรือไม่ จะได้รีบรักษา รวมทั้งให้วิธีการป้องกันฟันผุแล้ว ยังเพื่อให้เด็กตรวจพบความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันแต่เนิ่นๆ และจะได้วางแผนเวลา และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สำหรับรูปแบบการจัดฟันในเด็ก ที่เรามักจะพบได้บ่อยหรือได้รับความนิยมมากก็มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ซึ่งเป็นการจัดฟันในเด็ก แบบใช้เครื่องมือ EF Line และการจัดฟันในเด็กแบบใช้เครื่องมือแบบติดแน่น ซึ่งสองวิธีนี้เป็นการจัดฟันในเด็กที่สามารถเข้ารับการจัดฟันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งการจัดฟันแบบ EF Line จะมักนิยมใช้ในเด็กที่มีอายุประมาณ 4-7 ปี เพราะเครื่องมือสามารถเอาออกได้ เป็นการปรับโครงสร้างของ

ใบหน้าเด็ก ช่วยปรับตำแหน่งของลิ้นให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งมักจะใช้จัดฟันในเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ต่อมาก็คอการจัดฟันในเด็กที่มีเครื่องมือแบบติดแน่น ซึ่งการจัดฟันในรูปแบบนี้ มักจะใช้ในเด็กที่มีอายุ 7-15 ปี เพราะเด็กในวัยยี้เริ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูรักษาสุขภาพช่องปากและฟันแล้ว และยังให้ความร่วมมือในการรักษากับทันตแพทย์ได้ดีอีกด้วย นี่ก็คือรูปแบบการจัดฟันในเด็กที่ได้รับความนิยมาก เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความผิดปกติของฟันของเด็ก รวมไปถึงความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าด้วย

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองท่านใด อยากพาบุตรหลาของท่านเข้ารับการรักษาด้วยการจัดฟันในเด็ก ก็สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่คลินิกเพราะทางเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดฟันในเด็ก แบะมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน จึงมั่นใจได้ว่า บุตรหลานของท่านจะมีฟันที่เรียงตัวกันอย่างสวยงาม สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดี และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

8
คอหมูย่างตะไคร้ เมนูหมูเนื้อนุ่ม หอมกรุ่นกลิ่นตะไคร้ อร่อยทำง่ายสร้างอาชีพเสริมได้ที่บ้าน

คอหมูย่างตะไคร้เป็นเมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม หอมกลิ่นตะไคร้ และเนื้อหมูที่นุ่มชุ่มฉ่ำ ทำให้เป็นเมนูที่เหมาะสำหรับการสร้างอาชีพเสริมได้ง่ายๆ ที่บ้าน ต่อไปนี้เป็นสูตรและเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณทำคอหมูย่างตะไคร้ได้อย่างอร่อยและขายดี:

ส่วนผสม:

คอหมู 1 กิโลกรัม
ตะไคร้ซอยละเอียด 3 ต้น
กระเทียมสับ 5 กลีบ
รากผักชีสับ 2 ราก
พริกไทยขาวป่น 1 ช้อนชา
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ:

เตรียมหมู:
ล้างคอหมูให้สะอาด ซับให้แห้ง
หั่นคอหมูเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 เซนติเมตร

ทำเครื่องหมัก:
โขลกตะไคร้ กระเทียม และรากผักชีให้ละเอียด
ผสมเครื่องที่โขลกกับพริกไทยขาวป่น น้ำปลา ซอสหอยนางรม น้ำตาลปี๊บ และน้ำมันพืช

หมักหมู:
นำคอหมูลงคลุกเคล้ากับเครื่องหมักให้ทั่ว
หมักทิ้งไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือข้ามคืน

ย่างหมู:
นำคอหมูที่หมักไว้มาย่างบนเตาถ่าน หรือเตาอบ หรือกระทะย่าง
ย่างจนหมูสุกและมีสีเหลืองทอง
หั่นหมูเป็นชิ้นพอดีคำ จัดเสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้ม


เคล็ดลับความอร่อย:

เลือกคอหมู: เลือกคอหมูที่มีมันแทรกเล็กน้อย จะทำให้หมูย่างนุ่มชุ่มฉ่ำ
หมักหมู: หมักหมูให้นานขึ้น จะทำให้เครื่องปรุงซึมเข้าเนื้อหมูได้ดีขึ้น
ย่างหมู: ย่างหมูด้วยไฟอ่อนถึงปานกลาง จะทำให้หมูสุกทั่วถึงและไม่แห้งกระด้าง
น้ำจิ้ม: เสิร์ฟคอหมูย่างกับน้ำจิ้มแจ่ว หรือน้ำจิ้มซีฟู้ด จะช่วยเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น


เคล็ดลับทำขาย:

เตรียมวัตถุดิบ: เตรียมวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า เช่น หั่นหมู ซอยตะไคร้ และโขลกเครื่องหมัก
บรรจุภัณฑ์: เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและสวยงาม
ราคา: กำหนดราคาขายที่เหมาะสมกับต้นทุนและกลุ่มลูกค้า
โปรโมท: โปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook, Line หรือ Instagram
บริการ: ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ และใส่ใจลูกค้า
รักษาความสะอาด: รักษาความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ และสถานที่ทำอาหาร


ช่องทางการขาย:

ตลาดนัด
ร้านอาหาร: ขายในร้านอาหารตามสั่ง
เดลิเวอรี่: ขายผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่
งานออกร้าน: เข้าร่วมงานออกร้านอาหารต่างๆ

ด้วยสูตรและเคล็ดลับเหล่านี้ คุณสามารถสร้างอาชีพเสริมด้วยคอหมูย่างตะไคร้ได้อย่างแน่นอน

9
บ้านใหม่ 2025 นีโอ โฮม บางแค (Neo Home Bangkhae)
เริ่มต้น 8.59 ลบ.

นีโอ โฮม บางแค (Neo Home Bangkhae)
นีโอ โฮม บางแค บ้านเดี่ยวโครงการใหม่สไตล์อิตาลี จาก Frasers บนทำเลเมือง ใกล้เดอะมอลล์บางแค ตั้งอยู่กลางความสะดวกสบายด้วยการเดินทางที่ใกล้ รถไฟฟ้าและทางด่วน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชม.

รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ               นีโอ โฮม บางแค (Neo Home Bangkhae)
 เจ้าของโครงการ          เฟรเซอร์ส
 แบรนด์ย่อย                นีโอ โฮม
 ราคา                       เริ่มต้น 8.59 ลบ.
 ประเภทบ้าน               บ้านเดี่ยว, ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม (Townhouse Townhome)
 ลักษณะทำเล              บ้านใกล้เมือง
 พื้นที่โครงการ            โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนบ้าน               40 หลัง
 แบบบ้านทั้งหมด         โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
  เนื้อที่บ้าน                โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 พื้นที่ใช้สอย               ตั้งแต่ 140 ถึง 181 ตร.ม.
 จำนวนชั้น                  2 ชั้น
 หน้ากว้าง                โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 จำนวนห้องนอน          4 ห้อง
 จำนวนที่จอดรถ          2 คัน
 สาธารณูปโภค            สวนสาธารณะ, สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, รปภ., CCTV, อื่นๆ (สโมสร, ระบบคีย์การ์ด)

สถานที่ใกล้เคียง
 โซน            บางแค, ตลิ่งชัน, ทวีวัฒนา, ภาษีเจริญ
 ที่ตั้ง            ถนนกาญจนาภิเษก แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

 ขนส่งสาธารณะ
ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, สถานี(บางแค - พุทธมณฑล)(หลักสอง)
ใกล้ถนนสายหลัก (ถนนกาญจนาภิเษก)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
1. The Explace 2.2 กม.
2. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค 2.8 กม.
3. The Mall บางแค 3.4 กม.
4. โรงเรียนเลิศหล้า กาญจนาฯ 3.5 กม.
5. โรงเรียนบรีติช โคลัมเบีย 6.6 กม.

10
Doctor At Home: โรคเมเนียส์ (Ménière’s disease)

โรคเมเนียส์ (โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ก็เรียก) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน เป็นเหตุทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับประสาทการทรงตัวและประสาทการได้ยิน มีอาการบ้านหมุน หูตึง มีเสียงดังในหู และรู้สึกแน่นในหูเหมือนมีอะไรอุดเป็นสำคัญ

ส่วนมากจะเป็นที่หูเพียงข้างเดียว แต่บางรายหลังจากเป็นโรคนี้มานานหลายปีจะลุกลามไปที่หู 2 ข้างได้ ซึ่งอาจพบได้ประมาณ 30 ของผู้ป่วยทั้งหมด

โรคนี้พบได้น้อย พบบ่อยในคนอายุ 30-60 ปี โดยมากจะเริ่มมีอาการครั้งแรกตั้งแต่อายุราว 30 ปี แต่ก็อาจพบในคนอายุน้อยกว่า 30 ปีได้ และพบในผู้ชายกับผู้หญิงพอ ๆ กัน

นอกจากนื้ ยังพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคไมเกรน ซึ่งพบว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคเมเนียส์มีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่เป็นเมเนียส์ ส่วนกลุ่มคนที่เป็นไมเกรนก็มีโอกาสเป็นเมเนียส์มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่เป็นไมเกรน และยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เป็นสองโรคนี้ร่วมกัน

สาเหตุ

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด

พบว่าอาการของโรคนี้เกี่ยวเนื่องกับการมีปริมาณน้ำในหูชั้นใน (เอ็นโดลิมฟ์ หรือ endolymph)* มากผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อประสาทการทรงตัวและประสาทการได้ยิน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าว

มีข้อสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเกี่ยวกับความผิดปกติของการระบายของน้ำในหู (อาจเกิดจากมีการอุดกั้น หรือมีความผิดปกติของโครงสร้าง) ศีรษะหรือหูชั้นกลางได้รับบาดเจ็บ หูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อไวรัส (เช่น เริม งูสวัด อีสุกอีใส หัด คางทูม) โรคซิฟิลิส (ระยะที่ 3) โรคภูมิแพ้ โรคไมเกรน ความผิดปกติของหลอดเลือด (หลอดเลือดแดงหดตัวเช่นที่พบในโรคไมเกรน) ปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง มลพิษทางเสียง หรืออาจเกี่ยวกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์ (พบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว) เป็นต้น

อาการของโรคเมเนียส์ อาจมีสาเหตุกระตุ้นให้กำเริบ เช่น ภาวะร่างกายเหนื่อยล้า ความเครียดทางจิตใจ โรคภูมิแพ้ แสงจ้าหรือแสงกะพริบ อาหารเค็ม (เกลือแกง) ผงชูรส กินอาหารผิดเวลา กาเฟอีน ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาบางชนิด (เช่น แอสไพริน) แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี และจิตใจไม่เครียด

*เอ็นโดลิมฟ์ (น้ำในหูชั้นใน เรียกสั้น ๆ ว่าน้ำในหู) เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงเอ็นโดลิมฟ์ (endolymphatic sac) ที่อยู่ภายในหูชั้นใน โดยปกติน้ำในหูจะมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ ทำให้มีปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทในหูชั้นในซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ น้ำในหูจะเกิดการเคลื่อนไหวและกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวส่งสัญญาณไปยังสมองให้รับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเกิดการทรงตัวได้เป็นปกติ เมื่อมีปริมาณน้ำในหูมากผิดปกติ (endolymphatic hydrops) จะส่งผลให้เซลล์ประสาทการทรงตัวและการได้ยินทำงานผิดปกติ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน สูญเสียการทรงตัวและความผิดปกติของการได้ยิน

อาการ

มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ด้วยอาการบ้านหมุนอย่างฉับพลัน เป็นอาการหลักที่รบกวนผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยในระยะแรก ๆ ที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการรุนแรงจนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยยืนไม่ได้หรือล้มลง ต้องนอนพัก และมักมีอาการคลื่นไส้รุนแรง อาเจียน และเหงื่อออกร่วมด้วย

อาการบ้านหมุนอาจเป็นนานครั้งละเป็นนาที ๆ ถึงหลายชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง (พบบ่อยคือ 20 นาทีถึง 2 ชั่วโมง) แล้วหายไปได้เอง แต่จะกำเริบใหม่เป็นครั้งคราว อาจเป็นได้บ่อยมากถึงกว่าวันละ 1 ครั้ง หรือเป็นห่างเพียงปีละ 1-2 ครั้ง โดยการกำเริบครั้งใหม่มักมีการทิ้งระยะห่างที่ไม่แน่ไม่นอน อาจเว้นไปนานเป็นวัน ๆ สัปดาห์ ๆ เดือน ๆ หรือเป็นปี ๆ ก็ได้ และจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังนานหลายปี หรือจนกว่าเกิดอาการหูหนวก

ผู้ป่วยมักมีอาการหูตึง (ได้ยินไม่ชัด) มีเสียงดังรบกวนในหู และรู้สึกแน่นในหู (คล้ายมีอะไรอุด) ร่วมด้วย ซึ่งมักเกิดขึ้นในหูข้างที่ผิดปกติเพียงข้างเดียว บางรายอาจมีอาการเหล่านี้นำมาก่อนที่จะเกิดอาการบ้านหมุน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเดิน หรือตากระตุกร่วมด้วย

อาการหูตึงหรือได้ยินไม่ชัดมักเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว จะทุเลาดีในช่วงที่ปลอดจากอาการบ้านหมุนกำเริบ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นจะมีอาการแย่ลง ในระยะแรก ๆ ของโรคจะมีลักษณะไม่ได้ยินเสียงความถี่ต่ำ (เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น) แต่ในระยะต่อ ๆ มาจะไม่ได้ยินเสียงที่มีความถี่ที่สูงขึ้นไป และจะค่อย ๆ มีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในขณะที่อาการบ้านหมุนที่กำเริบเป็นครั้งคราวจะมีความรุนแรงน้อยลงไปเรื่อย ๆ

อาการหูตึงจะทวีความรุนแรง จนในที่สุดจะกลายเป็นหูหนวก (สูญเสียการได้ยิน) ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ และเมื่อเกิดอาการหูหนวก อาการบ้านหมุนก็จะหายไป แต่ยังคงมีอาการทรงตัวไม่ดีร่วมกับอาการหูหนวกอย่างเรื้อรังต่อไป

อาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้ยิน ในระยะแรกอาจเกิดขึ้นที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจเกิดทั้ง 2 ข้าง


ภาวะแทรกซ้อน

ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิต 

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจทำให้มีความอ่อนล้าง่าย มีความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า

ขณะที่เกิดอาการบ้านหมุนรุนแรงและสูญเสียการทรงตัว อาจเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุหรือหกล้มได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวก ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้าง และอาการบ้านหมุนที่ทำให้รู้สึกทรมานหรือน่ารำคาญมักจะหายไปได้เองภายหลังที่หูหนวก


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการสำคัญ ได้แก่ มีอาการบ้านหมุนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และนานครั้งละ 20 นาทีขึ้นไป ร่วมกับมีอาการหูตึง มีเสียงดังในหู และรู้สึกแน่นในหู

ในรายที่ไม่แน่ใจ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยการใช้เครื่องมือตรวจสมรรถภาพของการได้ยิน (audiometry) และตรวจความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวกับการทรงตัว (เช่น videonystagmography, rotary-chair testing, vestibular evoked myogenic potentials testing, electrocochleography, video head impulse test, posturography เป็นต้น)

ในรายที่สงสัยว่าอาจมีสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ (เช่น ซิฟิลิส) หรือสงสัยอาจเป็นโรคทางสมอง (เช่น เนื้องอกสมอง) แพทย์จะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล (สำหรับวินิจฉัยโรคซิฟิลิส) เอกซเรย์ ตรวจคลื่นสมอง ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

ถ้ามีอาการบ้านหมุนมาก แพทย์จะฉีดไดเฟนไฮดรามีน หรือไดเมนไฮดริเนต หรืออะโทรพีน ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ ถ้าอาการไม่มาก แพทย์จะให้กินยาแก้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต

ถ้ามีอาการอาเจียนมาก กินไม่ได้ และมีภาวะขาดน้ำ แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยลดอาหารเค็ม และให้ยาขับปัสสาวะ (เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์) ทุกวันอย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าอาการจะทุเลาไปแล้ว) ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำในหูชั้นในลดลง อาการมักจะดีขึ้นหลังกินยาประมาณ 1 เดือนไปแล้ว

นอกจากนี้ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการหรือภาวะอื่นที่พบร่วมด้วย เช่น ถ้ามีความวิตกกังวล ให้ยากล่อมประสาท (เช่น ไดอะซีแพม), ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส ให้การรักษาแบบซิฟิลิส, ใช้เครื่องช่วยฟังในรายที่มีอาการหูตึงมาก, ทำกายภาพบำบัด ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวไม่ดี เป็นต้น

ถ้าหากใช้ยาไม่ได้ผล อาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฉีดยา (เช่น เจนตาไมซิน, สเตียรอยด์) เข้าไปในหูชั้นกลาง ให้ยาซึมเข้าไปในหูชั้นในเพื่อลดอาการบ้านหมุน, การใส่อุปกรณ์ (ที่มีชื่อว่า "Meniett pulse generator") ที่หูชั้นนอก เพื่อเป่าลมเข้าไปเพิ่มความดันในหูชั้นใน ช่วยลดอาการบ้านหมุนและเสียงดังในหู เป็นต้น

มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่ใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ ไม่ได้ผล แพทย์ก็จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม และช่วยให้อาการหายขาดได้ เช่น การผ่าตัดถุงเอ็นโดลิมฟ์ เพื่อลดปริมาณน้ำในหู (endolymph), การตัดเส้นประสาทการทรงตัว (vestibular nerve section) เป็นต้น

ผลการรักษา อาการบ้านหมุนมักจะหายไปได้เองถึงร้อยละ 50 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 หลังมีอาการครั้งแรก 8 ปี แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะยังคงมีอาการหูหนวกและการทรงตัวไม่ดีต่อไป ซึ่งสามารถให้การดูแลรักษาและใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ และมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติทั่วไป

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการบ้านหมุน ร่วมกับอาการอาเจียน หูตึง มีเสียงดังในหู รู้สึกแน่นในหูคล้ายมีอะไรอุด ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเมเนียส์ ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    ลดอาหารเค็ม จำกัดการบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 1,500-2,000 มก. และเกลี่ยการบริโภคเกลือออกไปตามมื้ออาหารทั้งวัน
    หลีกเลี่ยงการบริโภคสุรา ยาสูบ ชา กาแฟ และช็อกโกแลต เพราะอาจทำให้น้ำในหูเสียสมดุล กระตุ้นให้อาการกำเริบได้
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด
    หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น แสงสว่าง การอ่านหนังสือ ดูทีวี การเคลื่อนไหวเร็ว ๆ
    หลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ซึ่งยากที่จะคาดการณ์ได้
    ในระยะที่ไม่มีอาการกำเริบ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
    ขณะมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนกำเริบ ซึ่งมักอยู่ ๆ ก็เกิดอาการขึ้นฉับพลันทันที ควรปฏิบัติ ดังนี้

- ควรนั่งพักหรือนอนพักทันที ควรนอนราบบนเตียงนอนหรือบนพื้น
- ถ้าอาการเกิดขึ้นขณะทำงาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร) หรือขณะขับรถ ควรหยุดการทำงานหรือหยุดรถข้างทาง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
- ถ้ามีอาการเกิดขึ้นขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพักทันที หากฝืนเดินต่อไปอาจทำให้ผู้ป่วยล้ม เกิดอุบัติเหตุได้
- ควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่มองไปที่วัตถุที่เคลื่อนไหว
- หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการมากขึ้นได้
- กินยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์แนะนำ
- อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำมากเช่นปกติ ควรกินอาหารหรือจิบน้ำทีละน้อย เพื่อลดอาการอาเจียน
- เมื่ออาการเริ่มทุเลาลง ควรค่อย ๆ ลุกขึ้น ควรมีคนคอยพยุงเวลาลุกขึ้นเดิน ถ้าตื่นลุกเข้าห้องน้ำตอนกลางดึก ควรเปิดไฟในห้องให้สว่าง ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ หรือรู้สึกโคลงเคลงมาก เวลาเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยป้องกันไม่ให้หกล้ม หรือมีคนคอยพยุง และควรพยายามนอนหลับต่อ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้น

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการบ้านหมุนมาก หรือไม่สามารถลุกเดินหรือทำงานได้
    อาเจียนมาก กินไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำ
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

ควรป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ เมื่อสังเกตว่ามีอาการที่น่าสงสัย

ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบบ่อยด้วยการรักษาและปฏิบัติตัว รวมทั้งสังเกตว่ามีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบ แล้วพยายามหลีกเลี่ยง เช่น แสงจ้า ผงชูรส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การกินข้าวผิดเวลา การอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า ความเครียด เป็นต้น

ข้อแนะนำ

1. อาการบ้านหมุนมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งอาจมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน หากมีอาการบ้านหมุนรุนแรง หรือเป็นครั้งละนานมากกว่า 20 นาที เป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หูตึง มีเสียงดังในหู หรือสูญเสียการทรงตัว มักจะไม่ใช่มีสาเหตุจากโรคบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า (บีพีพีวี) แต่อาจเกิดจากโรคเมเนียส์ หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน หรือเนื้องอกประสาทหูได้ ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุ

2. โรคเมเนียส์ (โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน) มักมีอาการบ้านหมุนเป็น ๆ หาย ๆ เป็นครั้งคราว นานเป็นปี ๆ โดยเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ก็จะมีการกำเริบห่างขึ้น และอาการบ้านหมุนมักจะหายได้เองในที่สุด และแม้จะยังมีอาการหูตึงและการทรงตัวไม่ดีเรื้อรังต่อไป แต่ก็สามารถมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ส่วนใหญ่แพทย์สามารถให้การรักษาตามอาการ และด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด มีเพียงส่วนน้อยที่อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

3. โรคเมเนียส์มักมีอาการคล้ายกับโรคไมเกรนชนิดมีอาการบ้านหมุน (vestibular migraine) คือ มีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียนเป็นครั้งคราวเหมือนกัน และอาจมีสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบแบบเดียวกัน เช่น แสงจ้าหรือแสงกะพริบ ผงชูรส  กินอาหารผิดเวลา ชา กาแฟ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายเหนื่อยล้า ความเครียด แต่ต่างกันที่โรคเมเนียส์จะมีอาการหูตึงร่วมด้วย (ซึ่งพบได้น้อยในไมเกรน) ส่วนไมเกรนจะมีอาการปวดศีรษะ กลัวแสง กลัวเสียงร่วมด้วย (ซึ่งพบได้น้อยในโรคเมเนียส์) โรคเมเนียส์มักมีอาการนานครั้งละ 20 นาทีถึง 2 ชั่วโมง (ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) ส่วนไมเกรนจะมีอาการนานครั้งละ 4-72 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการบ้านหมุนเป็นครั้งคราว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้แน่ชัด และให้การรักษาและให้คำแนะนำกับผู้ป่วยให้เหมาะกับโรคที่เป็น

11
คอนโดติดรถไฟฟ้า เดอะ โมส อิสรภาพ (The Most Itsaraphap)
N/A

เดอะ โมส อิสรภาพ (The Most Itsaraphap)
คอนโดใกล้โรงพยาบาลศิริราชเพียงแค่ 700 เมตร
ใกล้รถไฟฟ้า 3 สาย

 รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ                    เดอะ โมส อิสรภาพ (The Most Itsaraphap)
 เจ้าของโครงการ               เนอวานา ไดอิ
 ราคา                            N/A
 ราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.           โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ลักษณะทำเล                  คอนโดในเมือง, คอนโดใกล้ขนส่งสาธารณะ
 ความสูงคอนโด               High Rise (9 ชั้นขึ้นไป)
 ลักษณะกรรมสิทธิ์            โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ประเภทห้องที่มี               สตูดิโอ, 1 ห้องนอน, 2 ห้องนอน
 ขนาดห้องที่มี                 ตั้งแต่ 23.50 ถึง 51.00 ตร.ม.
 เนื้อที่ทั้งหมด                 1 ไร่ 3 งาน 62 ตร.ว.
 จำนวนตึก                     1 อาคาร
 จำนวนชั้น                     8 ชั้น
 จำนวนห้อง                  193 ยูนิต
 ที่จอดรถทั้งหมด            74 คัน
 ค่าบำรุงส่วนกลาง           โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 สาธารณูปโภค              สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, สนามเทนนิส, รปภ., กล้องวงจรปิดโครงการ, สวนหย่อม, Wi-Fi Internet บริเวณ Lobby

 สถานที่ใกล้เคียง
 โซน            บางกอกน้อย
 ที่ตั้ง            ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

 ขนส่งสาธารณะ
รถไฟฟ้า:               ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, สถานี(ท่าพระ - บางซื่อ)(บางขุนนนท์), ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีส้ม, สถานี(ตลิ่งชัน - สุวินทวงศ์)(บางขุนนนท์)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง
รพ.ศิริราช
เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
เมเจอร์ ปิ่นเกล้ส
แม็คโคร จรัญสนิทวงศ์
เทสโก้ โลตัส ปิ่นเกล้า
พาต้า ปิ่นเกล้า

12
จัดฟันบางนา: เผย 4 ความเสี่ยงสุดอันตราย ในการจัดฟันแฟชั่น

ต้องขอบอกเลยว่าการจัดฟัน เป็นหนึ่งในการรักษาทางทันตกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในประเทศไทยรวมถึงในระดับโลก เนื่องจากว่าฟันผิดรูปถือว่าเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างรุนแรงหากว่าไม่รีบทำการรักษา แต่ด้วยการใส่อุปกรณ์จัดฟันที่มีความโดดเด่นจึงทำให้หลายๆท่านมองว่าการใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรมเพื่อใช้ในการจัดฟันนี้มีความสวยงามดูดี จึงมีหลายๆท่านอยากจะใส่อุปกรณ์จัดฟันเหล่านี้ แต่ด้วยราคาที่แพงพอสมควร รวมถึงบางท่านการเรียงตัวของฟันสวยงามอยู่แล้วทันตแพทย์จึงไม่แนะนำให้ทำการใส่อุปกรณ์จัดฟัน

ส่งผลให้เกิดเหล่าพ่อค้าแม่ค้าหัวใส หวังเข้ามากอบโกยโดยไม่เป็นห่วงถึงความปลอดภัยของคนอื่น ได้รับจัดฟันแฟชั่นด้วยราคาที่ถูกเพียงหลักร้อย ทำให้มีวัยรุ่นเป็นจำนวนมากเข้ารับการจัดฟันแฟชั่นเหล่านี้ จนกระทั่งธุรกิจจัดฟันแฟชั่นเหล่านี้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง

ซึ่งในวันนี้จะขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอันตรายเกี่ยวกับการจัดฟันแฟชั่นที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งขอบอกเลยว่าอันตรายจนท่านคาดไม่ถึงเลย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การจัดฟันแฟชั่นคืออะไร ?

เนื่องด้วยการจัดฟันโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความสามารถ และถูกต้องตามกฎหมายนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และใช้ระยะเวลาที่นานเป็นขั้นเป็นตอน หลายๆคนจึงได้หันไปใช้วัสดุการจัดฟันเลียนแบบซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดซึ่งมีราคาถูก แต่ก็ต้องยอมแลกมาด้วยความเสี่ยงมากมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์จัดฟันเลียนแบบนี้จะทำขึ้นมาจากวัสดุง่ายๆรอบตัว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ที่พบเจอวัสดุเลียนแบบที่นิยมนำมาใช้ทำอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นคือ

– หนังยาง หรือ ยางรัดผม

– ไหมขัดฟัน

– ลวดหนีบกระดาษ

– เส้นลวดขนาดเล็ก

– ลูกปัด

– รวมถึงวัสดุอื่นๆตามที่ผู้ทำจะนำมาตกแต่งเพิ่ม


อันตรายจากการจัดฟันแฟชั่น ?

ผู้ที่ให้บริการจัดฟันแฟชั่นมักไม่ใช่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีความรู้ด้านทันตกรรม ไม่มีใบประกอบวิชาชีพทางทันตกรรม และที่สำคัญไม่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพราะหากว่าเป็นทันตแพทย์จริงๆ จะไม่ยินยอมในการจัดฟันให้ผู้ที่ไม่มีปัญหาที่ต้องแก้ไข ซึ่งต่างกันกับการจัดฟันแฟชั่นเพราะเขาไม่สนใจว่าสุขภาพช่องปากของท่านเป็นอย่างไร จากฟันที่สวยงามอาจจะกลายเป็นย่ำแย่ไปได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งอันตรายจากการจัดฟันแฟชั่นนั้นมีมากมาย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

– อาการแพ้

ต้องบอกเลยว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดฟันแฟชั่น โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อใช้สำหรับการจัดฟันโดยตรง จึงมักมีส่วนผสมของสารพิษจำพวก สารปรอท สารตะกั่ว สารหนู หรือแคดเมีย รวมอยู่ด้วยในลวดและอุปกรณ์แต่งเติมที่ใช้ในการทำอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น ซึ่งสารพิษเหล่านี้เมื่อมีการสะสมในร่างกายนานๆอาจจะส่งผลให้มีอันตรายต่อสุขภาพ และอาการแพ้ได้นั่นเอง

– อักเสบ ติดเชื้อ

ผู้ที่รับจัดฟันแฟชั่นโดยส่วนใหญ่จะไม่คำนึงถึงความสะอาด และสุขอนามัยที่ควรจะเป็น และอุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามแบบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค เป็นต้น และที่สำคัญด้วยวัสดุจัดฟันที่ไม่ได้มาตรฐานอาจจะส่งผลให้เศษอาหารเข้าไปติดและทำความสะอาดยากมากกว่าปกติ ผลสุดท้ายการสะสมของเชื้อโรคก็จะทำให้ช่องปากติดเชื้อได้ในที่สุด

– ฟันและเหงือกเสียหาย

ต้องขอบอกเลยว่าเทคนิคการจัดฟันถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ต้องศึกษาและเรียนรู้โดยตรง ไม่ใช่ว่าใครๆก็สามารถทำได้ เพราะแรงกดจากอุปกรณ์จัดฟันที่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยและวิเคราะห์อย่างละเอียด จะเป็นตัวสำคัญในการทำให้ฟันเคลื่อนที่จนกระทั่งเข้าที่ แต่หากว่าเป็นการจัดฟันแฟชั่นซึ่งไม่ได้รับการเรียนรู้ซึ่งแน่นอนว่าวินิจฉัยไม่เป็นอาจจะส่งผลให้เกิดแรงกดทับมากเกินไปส่งผลให้ฟันผิดรูปได้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจจะทำให้เกิดการบาดเหงือกหรือกระพุ้งแก้ม และถ้าไม่รีบทำการรักษาอาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งในช่องปากได้อีกด้วย

เนื่องจากว่าการจัดฟันแฟชั่นถือได้ว่าเป็นการนำอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือการนำวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในการจัดฟัน แถมด้วยผู้ที่ให้บริการไม่มีความรู้ทางด้านทันตกรรม จึงมีความเสี่ยงอันตรายได้ทุกครั้งที่ทำการจัดฟันแฟชั่น

13
ข้อดีและข้อเสีย ของท่อลมร้อน ที่ควรรู้

ท่อลมร้อนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ผลิตและลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปแล้ว มีดังนี้:

ข้อดีของท่อลมร้อน:

การระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ:
ช่วยระบายอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ควัน หรือก๊าซพิษออกจากพื้นที่ทำงาน ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานดีขึ้น
ช่วยลดความร้อนสะสมในพื้นที่ทำงาน ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การควบคุมอุณหภูมิ:
ช่วยควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการผลิตให้คงที่
ช่วยกระจายความร้อนไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

การกำจัดสารอันตราย:
ช่วยระบายควันพิษ ก๊าซอันตราย หรือฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ทำงาน ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน:
การระบายอากาศที่ดีช่วยลดความเมื่อยล้าของพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ในกระบวนการผลิตบางอย่าง การระบายความร้อนที่เหมาะสมช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การป้องกันอัคคีภัย:
ท่อลมร้อนที่ทำจากวัสดุทนไฟ ช่วยป้องกันการลุกลามของไฟในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
ในระบบดูดควัน ท่อลมร้อนช่วยในการกำจัดควันออกจากอาคาร ลดความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย

การลดเสียงรบกวน:
ท่อลมร้อนบางชนิดมีคุณสมบัติในการลดเสียงรบกวนจากการไหลของอากาศ ช่วยลดมลภาวะทางเสียงในพื้นที่ทำงาน

การใช้งานในระบบ HVAC (Heating, Ventilation, and Air Conditioning):
ท่อลมร้อนเป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบ HVAC ช่วยในการระบายอากาศร้อนและถ่ายเทอากาศบริสุทธิ์ภายในอาคาร


ข้อเสียของท่อลมร้อน:

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง:
การติดตั้งท่อลมร้อนอาจมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

การบำรุงรักษา:
ท่อลมร้อนต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือสารเคมี
การทำความสะอาดและตรวจสอบรอยรั่วของท่อลมอาจต้องใช้เวลาและแรงงาน

การเสื่อมสภาพ:
ท่อลมร้อนอาจเสื่อมสภาพเมื่อสัมผัสกับความร้อนสูง สารเคมี หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
การเปลี่ยนท่อลมร้อนที่เสื่อมสภาพอาจมีค่าใช้จ่ายสูง

ความยืดหยุ่นจำกัด:
ท่อลมโลหะและท่อลมไฟเบอร์กลาสมีความยืดหยุ่นจำกัด ทำให้การติดตั้งในพื้นที่จำกัดทำได้ยาก
ท่อลมผ้าใบมีความยืดหยุ่นมากกว่า แต่ไม่ทนต่ออุณหภูมิสูงและสารเคมีบางชนิด

การสูญเสียพลังงาน:
หากท่อลมร้อนไม่มีฉนวนกันความร้อน อาจมีการสูญเสียพลังงานความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน


เสียงรบกวน:
ท่อลมร้อนบางชนิดอาจก่อให้เกิดเสียงรบกวนจากการไหลของอากาศ โดยเฉพาะเมื่อมีการไหลของอากาศในปริมาณมาก
ในการเลือกใช้ท่อลมร้อน ควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ เพื่อให้ได้ท่อลมที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีประสิทธิภาพในการระบายอากาศสูงสุด

14
หมอประจำบ้าน: มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal cancer)

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับที่ 3 ของมะเร็งในผู้ชาย และอันดับที่ 2 ของมะเร็งในผู้หญิง พบได้ในวัยรุ่นจนถึงผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป (พบถึงร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุ 60-79 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ ในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนอายุ 20-49 ปี มีโอกาสพบโรคนี้เพิ่มมากขึ้น


สาเหตุ

ยังไม่ทราบชัดเจน พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่

    การมีติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่ (adenomatous polyps) ซึ่งอาจตรวจพบโดยบังเอิญ หรือมาพบแพทย์ด้วยอาการถ่ายเป็นเลือด หากปล่อยไว้ไม่ได้ตัดออก มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
    มีประวัติว่ามีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าว หากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า 1 คน ก็มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
    มีประวัติคนในครอบครัว (พ่อหรือแม่) เป็นโรคพันธุกรรม ได้แก่ (1) โรค Familial adenomatous polyposis (FAP) ผู้ป่วยจะมีติ่งเมือกจำนวนมากเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุน้อย และกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 40 ปี หรือ (2) โรค Hereditary non-polyposis colorectal cancer (HNPCC) หรือ Lynch syndrome นอกจากทำให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของอวัยวะอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ตับ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก รังไข่ เยื่อบุมดลูก สมอง ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งมักเกิดมะเร็งเหล่านี้ตั้งแต่อายุก่อน 50 ปี และผู้ป่วยเป็นมะเร็งได้มากกว่า 1 ชนิด

ผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดใดชนิดหนึ่งข้างต้น มักจะได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรม (ยีน) จากพ่อหรือแม่ ทำให้เป็นโรคดังกล่าวตามมาได้

    มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ได้แก่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (ulcerative colitis) โรคโครห์น (Crohn’s disease /CD) เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น 4-20 เท่า
    การมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ รังไข่ มดลูก หรือเต้านมมาก่อน
    การมีประวัติได้รับการฉายรังสีรักษามะเร็งชนิดอื่นที่บริเวณท้องมาก่อน
    การกินอาหารพวกเนื้อแดงที่แปรรูป (เช่น ฮอตดอก แฮม) หรือเนื้อแดง (เนื้อหมู เนื้อวัว) ในปริมาณสูง อาหารที่มีไขมันสูง
    การกินอาหารที่มีกากใย (ผัก ผลไม้) น้อย
    การสูบบุหรี่
    การดื่มสุราจัด
    การขาดการออกกำลังกาย
    มีภาวะอ้วนหรือเป็นเบาหวาน ก็ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้สูงขึ้น

อาการ

ระยะแรกมักไม่มีอาการแสดง ต่อมาเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้นก็จะมีอาการผิดปกติต่าง ๆ ขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของมะเร็ง เช่น มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินแบบเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือดสด (ทำให้คิดว่าเป็นเพียงริดสีดวงทวาร) อุจจาระมีขนาดเล็กกว่าแท่งดินสอ มีอาการปวดท้อง หรือมีลมในท้องเรื้อรัง มีอาการปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายปวดถ่ายอยู่ตลอดเวลา หรืออาจคลำได้ก้อนในท้องบริเวณด้านขวาตอนล่าง บางรายอาจมีอาการของลำไส้อุดกั้น คือปวดบิดในท้อง ท้องผูก ไม่ผายลม ซึ่งจะเป็นอยู่เพียงชั่วครู่และทุเลาไปได้เอง และกลับกำเริบใหม่เป็นครั้งคราว บางรายอาจมีอาการซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด


ภาวะแทรกซ้อน

อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือด ลำไส้เกิดการอุดกั้นจากก้อนมะเร็ง

มะเร็งมักลุกลามไปที่อวัยวะข้างเคียง ในช่องท้อง (ทำให้ปวดท้อง ท้องมาน) ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง แอ่งเหนือไหปลาร้า และในระยะท้ายมักแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปที่ปอด (เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก), ตับ (เจ็บชายโครงขวา ตาเหลืองตัวเหลือง ท้องมาน), กระดูก (ปวดกระดูก กระดูกพรุน กระดูกหัก ปวดหลัง ไขสันหลังถูกกดทับ) และอาจไปที่สมอง (ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซ  แขนขาชา และเป็นอัมพาต ชัก)

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักพบก้อนเนื้องอกที่ทวารหนัก (ไส้ตรง) หรือตรวจพบเลือดในอุจจาระ

แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียม (barium enema) การใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาระดับสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ได้แก่ สารซีอีเอ (carcinoembryonic antigen/CEA ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยและการติดตามผลการรักษา)

หากพบว่าเป็นมะเร็งก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI), การตรวจเพทสแกน (PET scan) เป็นต้น เพื่อประเมินว่าเป็นมะเร็งระยะใด


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัด บางรายอาจต้องผ่าตัดเปิดรูถ่ายอุจจาระที่หน้าท้อง (colostomy)

ในระยะที่มะเร็งแพร่กระจายอาจให้อิมมูนบำบัด และ/หรือการใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy drug) ร่วมด้วย

ผลการรักษา ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การรักษาด้วยการผ่าตัดสามารถทำให้หายขาดได้ ในรายที่มีการลุกลามทะลุผนังลำไส้และต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง การผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด และ/หรือรังสีบำบัด ก็สามารถช่วยให้มีชีวิตยืนยาวได้นานหลายปี (มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปีประมาณร้อยละ 65-90) แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปไกล การรักษาก็มักจะได้ผลไม่สู้ดี (มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปีประมาณร้อยละ 10-15) การให้อิมมูนบำบัด และ/หรือการใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy drug) อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ชีวิตยืนยาวมากขึ้น


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินแบบเรื้อรัง, ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดเรื้อรัง, ถ่ายเป็นเลือดสด (อาจทำให้คิดว่าเป็นเพียงริดสีดวงทวาร), อุจจาระมีขนาดเล็กกว่าแท่งดินสอ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเอง
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่มีไขมันน้อย (เช่น ปลา ไข่ขาว เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง)
    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาทางผ่อนคลายความเครียด
    ออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งงานอดิเรกที่ชอบ และงานจิตอาสา เท่าที่ร่างกายจะอำนวย
    ทำสมาธิ เจริญสติ หรือสวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ
    ถ้ามีโอกาสควรหาทางเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน หรือกลุ่มมิตรภาพบำบัด
    ผู้ป่วยและญาติควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย ยอมรับความจริง และใช้ชีวิตในปัจจุบันให้ดีและมีคุณค่าที่สุด
    ถ้าหากมีเรื่องวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและวิธีบำบัดรักษา รวมทั้งการแสวงหาทางเลือกอื่น (เช่น การใช้สมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน การนวด ประคบ การฝังเข็ม การล้างพิษ หรือวิธีอื่น ๆ) ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และทีมสุขภาพที่ดูแลประจำและรู้จักมักคุ้นกันดี

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการไม่สบายหรืออาการผิดปกติ เช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ชัก แขนขาชาหรืออ่อนแรง ซีด มีเลือดออก ปวดท้อง ท้องเดิน อาเจียน เบื่ออาหารมาก กินไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ เป็นต้น
    ขาดยาหรือยาหาย
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล อาจลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยการปฏิบัติ ดังนี้

    กินผักและผลไม้ให้มาก ๆ
    ลดอาหารพวกไขมันและเนื้อแดง
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราจัด
    หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
    ควบคุมโรคเบาหวาน (ถ้าเป็น) และน้ำหนักตัว


ข้อแนะนำ

1. สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ไม่มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคติ่งเนื้อเมือกหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไม่มีอาการผิดปกติทางระบบลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเมื่อมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

    การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test/FOBT ซึ่งในปัจจุบันแนะนำให้ทำการตรวจด้วยวิธี "Fecal immunochemical test/FIT") ถ้าผลเป็นบวก (พบเลือดในอุจจาระ) จะตรวจกรองเพิ่มเติมด้วยการใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ถ้าผลเป็นลบ (ไม่พบเลือดในอุจจาระ) ให้ตรวจซ้ำปีละ 1 ครั้ง
    การใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก 10 ปี
    การถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT colonoscopy หรือ virtual colonoscopy) ทุก 5 ปี

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีพ่อแม่พี่น้องเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ Familial adenomatous polyposis (FAP) หรือ Hereditary non-polyposis colorectal cancer (HNPCC), ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ รังไข่ มดลูก หรือเต้านมมาก่อน ควรทำการตรวจกรองโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี (ตั้งแต่อายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า) และตรวจถี่กว่าคนปกติทั่วไปตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นสมควร

2. เมื่อมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด อย่าคิดว่าเป็นเพียงริดสีดวงทวาร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจทางทวารหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือถ่ายออกเป็นเลือดนานและมาก

3. ปัจจุบันมีวิธีบำบัดรักษาโรคมะเร็งใหม่ ๆ ที่อาจช่วยให้โรคหายขาดหรือทุเลา หรือช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยจึงควรติดต่อรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง มีความมานะอดทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาที่อาจมีได้ อย่าเปลี่ยนแพทย์ เปลี่ยนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น หากสนใจจะแสวงหาทางเลือกอื่น (เช่น การใช้สมุนไพร หรือวิธีอื่น ๆ) ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และทีมสุขภาพที่ดูแลประจำและรู้จักมักคุ้นกันดี

15
ซ่อมบำรุงอาคาร: เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์บ้านอย่างไร ให้เย็นทั่วห้อง

หลายคนทราบกันดีว่า อาากาศในบ้านเรานั้น ร้อนอบอ้าวตลอดทั้งปี สำหรับบ้านใครที่มีเครื่องปรับอาหาศ ก็สามารถคลายร้อนได้บ้าง แต่หลายบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศก็ต้องทนร้อนไปตลอดทั้งวัน สำหรับคนที่มีแอร์ หลายคก็อาจจะต้องเจอกับค่าไฟที่แพงในแต่ละเดือน ซึ่งต้องแลกกับความเย็นสบาย ยิ่งในหน้าร้อนอากาศก็ยิ่งร้อนจนทำให้แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น

ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากความสกปรกของแอร์ หรือตำแหน่งวางแอร์ที่ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้ความเย็นไม่สามารถกระจายไปได้ทั่วห้อง ดังนั้น การวางตำแหน่งแอร์ที่ดี ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียว ยิ่งเราติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมและถูกต้อง นอกจากจะทำให้ห้องเย็นสบายแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าจำนวนมหาศาลได้อีกด้วย เพียงแค่เราติดตั้งแอร์ในตำแหน่งที่ดี ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงการเลือกตั้งติดตั้งแอร์ที่จะช่วยให้ความเย็นกระจายทั่วทั้งห้อง เพราะการวางตำแหน่งแอร์สามารถทำให้แอร์กระจายได้ทั่วถึง ไม่ทำงานหนัก แถมยังทำให้เราไม่เสียสุขภาพอีกด้วย


สำหรับตำแหน่งในวางแอร์ในห้องนอนเราเราควรวางแอร์ให้ลมแอร์เป่าไปในแนวขวาง ขณะที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับอยู่บนเตียง ร่างกายจะมีอุณหภูมิลดลงจึงต้องวางตำแหน่งแอร์ให้ลมเป่าไปในแนวขวางของเตียงนอน เพื่อไม่ให้ความเย็นปะทะเข้ากับร่างกายโดยตรง วิธีนี้จะทำให้เราไม่ป่วยง่ายและทำให้แอร์เป่าลมเย็นสบายไปทั่วห้องอีกต่างหาก และในการติดตั้งแอร์ เราจะต้องดูรูปทรงห้องหรือลักษณะของห้องว่าห้องเป็นรูปทรงแบบไหน


รวมถึงมีขนาดห้องเล็ก กลาง หรือใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่คอนโดหรือบ้านมักจะออกแบบเป็น รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นการติดตั้งแอร์ควรเป็นแนวยาว เพื่อให้ความเย็นกระจายได้อย่างทั่วถึงทุกมุมห้องนั่นเอง และที่สำคัญมากที่สุดคือ ควรเลือกตำแหน่งที่ทำความสะอาดได้สะดวก เพราะแอร์ของเราควรได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

นอกจากจะช่วยทำให้แอร์มีความสะอาด ให้เราได้สูดดมอากาศที่บริสุทธิ์แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟ ดีต่อสุขภาพของคนในบ้านอีกด้วย ดังนั้น หลังจากวางแอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว เราต้องคำนึงถึงการทำความสะอาด ซึ่งก็ไม่ควรให้ชิดเพดานหรือฝ้ามากเกินไป จะทำให้ถอดชิ้นส่วนออกมาล้างลำบาก และจะทำให้เพดานเกิดความชื้นได้ง่ายจนกลายเป็นเชื้อรา เป็นอันตรายต่อคนในบ้าน


นอกจากนี้ เฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ข้างใต้แอร์ ต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย พอเวลาช่างมาล้างหรือเราทำความสะอาดเองจะได้ไม่เลอะเทอะสกปรก และอีกข้อหนึ่งที่เราควรจะใส่ใจคือ ตำแหน่งของแอร์ เราไม่ควรอยู่ตรงข้ามกับจุดนั่งหรือจุดนอน โดยตำแหน่งตรงกันข้าม หมายถึง ตำแหน่งที่ผู้อยู่อาศัยต้องใช้งานระยะยาว อาจเป็นการนั่งทำงานทั้งวัน นอนหลับพักผ่อนตลอดค่ำคืน เนื่องด้วยหากลมเย็นของแอร์กระทบกับร่างกายโดยตรงต่อเนื่องยาวนาน มักส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย ผิวแห้ง ระคายเคืองตา เกิดอาการภูมิแพ้ได้ง่าย ตัวอย่างเช่น กรณีห้องนอนไม่ควรให้ตรงข้ามเตียงนอน


กรณีห้องทำงาน ไม่ควรตรงข้ามกับตำแหน่งโต๊ะทำงาน แต่หากเป็นตำแหน่งที่ใช้งานชั่วคราว เช่น โต๊ะอาหาร, มุมรับแขก หรือโซนอื่น ๆ ที่ใช้งานชั่วคราวจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม การวางตำแหน่งของคอมเพรสเซอร์ ก็มีความสำคัญ เราควรวางคอมเพรสเซอร์ในบริเวณที่ระบายความร้อนได้ดี เป็นที่โปร่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง


วางตัวเครื่องให้ห่างจากกำแพงออกมาเล็กน้อย ควรวางไว้ที่ระเบียงข้างนอก หากไม่มีระเบียงให้แขวนกับผนังด้านข้าง หรือหาพื้นที่แขวนที่โล่ง ลมจะได้ไม่ตีลมร้อนกลับมา นอกจากนี้ ควรวางบริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้ดีและส่งเสียงรบกวนได้โดยไม่รบกวนสิ่งรอบข้าง ยกระดับให้เหนือพื้นดินอย่างต่ำ 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำสามารถท่วมถึง และอยู่ในบริเวณที่ซ่อมบำรุงได้ง่าย และสิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์บริเวณที่มีโอกาสติดไฟได้ เพราะน้ำยาแอร์บางชนิดสามารถติดไฟได้บ้างจึงควรเลี่ยงเอาไว้ก่อน จะเห็นได้ว่า เทคนิคของการใช้งานแอร์นั้น มีหลายปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง เพราะทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กัน ก็จะช่วยทำให้ประหยัดไฟ ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น


ดังนั้น หากบ้านไหนอยากจะติดตั้งแอร์ หรือปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับการจัดการอาคาร ไม่ว่าจะเป็น ระบบทำความเย็น การทำความสะอาด หรืองานช่างต่างๆ สามารถติดต่อทางเราได้ อยากให้ทุกคนได้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่มีความสะอาด เพื่อช่วยให้เราได้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากเชื้อโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทางเรามีบริการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ทุกคนได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดเพราะเราห่วงใยในความปลอดภัยของลูกค้า เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ เรายังได้มีการคัดสรรสิ่งที่จะนำมาใช้ในการทำความสะอาด เพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆมากที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงของการสัมผัสเชื้อโรคด้วย

หน้า: [1] 2 3 ... 23